โครงการบริการวิชาการด้านภาษาให้กับผู้บริการด้านการท่องเที่ยว ชุมชนหาดนางกำ
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว กลุ่มพนักงานขับเรือนำเที่ยว ผู้ให้บริการโฮมสเตย์ ร้านอาหาร และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 35 คน พื้นที่ ชุมชนหาดนางกำ อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ข้อมูลพื้นฐานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 35 คน ผู้หญิง 17 คน ผู้ชาย 8 คน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 25 คน ช่วงอายุ <30 ปี 12 คน, 30-39 ปี 3 คน, 40-49 ปี 2 คน, 50-59 ปี 3 คน, >60 ปี 5 คน อาชีพขับเรือนำที่ยว 6 คน ผู้ประกอบการร้านอาหาร 5 คน แม่บ้าน 3 […]
โครงการพัฒนาศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษาและการท่องเที่ยวเกาะพะลวย ระหว่างวันที่ 22 – 25 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ณ ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเกาะพะลวย ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หลักการและเหตุผล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานหนึ่งที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาเกาะพะลวย ให้กลายเป็นเกาะพลังงานสะอาดได้อย่างยั่งยืน โดยนำตัวแทนจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเดินทางไปยังเกาะพะลวย เพื่อสำรวจเส้นทางสำหรับจัดทำคู่มือท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้กับเกาะพะลวย พร้อมกับจัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ คณะและหน่วยงานต่าง ๆ จะดำเนินการพัฒนาเกาะพะลวยตามศาสตร์ของตน ดังนั้นหอสมุดกลาง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้จัดโครงการดังกล่าวเพื่อช่วยพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนเกาะพะลวย โดยการให้ความรู้ด้านบรรณารักษ์ ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หมวดหมู่ดิ้วอี้ การจัดชั้นหนังสืออย่างถูกต้อง การจัดมุมต่างๆ ของห้องสมุด และการดูแลรักษาหนังสือภายในห้องสมุด ซึ่งมีหนังสือสำหรับให้บริการประมาณ 1,620 ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ครูบรรณารักษ์ และบุคลากรในท้องถิ่น ได้รับความรู้จากการเข้าฝึกอบรม เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านการท่องเที่ยว สำหรับชุมชนเกาะพะลวย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ด้วยตนเองได้ แนวทางการดำเนินโครงการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมหนังสือ การทำรายการและวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือ การจัดชั้นหนังสือ และการซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปรับปรุงห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้กับครูบรรณารักษ์ และบุคลากรในท้องถิ่น จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับครูบรรณารักษ์ และบุคลากรในท้องถิ่น สรุปผลการดำเนินโครงการและติดตามผลโครงการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ครูบรรณารักษ์ และบุคลากรในท้องถิ่น ได้รับความรู้จากการเข้าฝึกอบรม มีห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านการท่องเที่ยว สำหรับชุมชนเกาะพะลวย ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ด้วยตนเองได้ วิธีการดำเนินโครงการ […]
โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว ดอนสัก – เกาะพะลวย กิจกรรม การประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยว ดอนสัก-เกาะพะลวย ด้วย Social Network
โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว ดอนสัก – เกาะพะลวย กิจกรรมการประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพลวย ด้วย Social Network มีการลงพื้นที่ชุมชนเกาะพะลวย บ้านเขากลอย หาดนางกำ ปากคลองดอนสัก เกะแรต และเกาะนกเภา เพื่อเก็บข้อมูล ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวพื้นที่ชุมชนดอนสัก-เกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ได้จัดทำช่องทางการประชาสัมพันธ์ ด้วย Social Network จำนวน 2 ช่องทาง ประกอบด้วย 1) เว็บไซต์ http://donsak.sru.ac.th/ 2) เพจ https://www.facebook.com/traveldonsak/ ผลการดำเนินงาน ด้านความพึงพอใจ ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ได้จัดทำช่องทางการประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวดอนสัก – เกาะพะลวย ด้วย Social Network จำนวน 2 ช่องทางประกอบด้วย เว็บไซต์ http://donsak.sru.ac.th/ และเพจ https://www.facebook.com/traveldonsak/ […]
โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรม สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ หลักสูตรสัตวศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลักการและเหตุผล เกาะพะลวยตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากอำเภอดอนสักประมาณ 18 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเกาะสมุยประมาณ 20 กิโลเมตรเนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าที่ล้อมรอบด้วยทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำประมงโดยใช้เรือหางยาว แต่ปัจจุบันประสบปัญหาทรัพยากรทางการประมงเลื่อมโทรมจากการประมงพาณิชย์ อีกทั้งยังมีลมมรสุมประจำถิ่น ทำให้ฝนตกชุก คลื่นพายุรุนแรง ทำให้บางช่วงชาวบ้านไม่สามารถออกเรือทำประมงได้ ทำให้ชาวบ้านขาดรายได้ และสุดท้ายมีรายได้ที่ลดลงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ปัจจุบันพบว่า ชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้มีการทำสวนยางพารา และทำสวนประสม ปลูกผักเพื่อเลี้ยงชีพควบคู่ไปกับการทำประมง แต่ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพเสริมได้เนื่องจากขาดพื้นที่ในการทำมาหากิน ขาดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อเป็นอาหารภายในครัวเรือน และถ้ามีไข่ไก่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือสามารถขายเพื่อเป็นรายได้เสริมได้ วิธีการดำเนินการ ระดมความคิดเห็นกับชาวบ้าน ครั้งที่ 1 สำรวจพื้นทีสร้างโรงเรือน วันที่ 26-28 เมษายน 2560 มอบพันธุ์หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 และอุปกรณ์ประดิษฐ์สำหรับให้น้ำไก่ ขั้นดำเนินการ: เตรียมรังฟัก ครั้งที่ 2 ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ สร้างโรงเรือน วันที่ 12-14 กค 60 ครั้งที่ 3 ตกแต่ง ทาสี และอบรมให้ความรู้ […]
โครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ด้วยประติมากรรมนกเงือก ณ บ้านเกาะพะลวย หมู่ที่ 6 ของตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หลักการและเหตุผล เอกลักษ์เชิงภาพที่แสดงถึงตัวตนของเกาะพะลวย เพื่อกระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยว สัญศาสตร์(semiotics) เป็นวิธีการนึงที่เสริมสร้างความเด่นชัด แตกต่าง และเพิ่มหลักเขตของความชัดเจนยิ่งขึ้นในนามความเป็นเกาะพะลวย ที่แสดงออกเป็น สัญลักษณ์ทางประติมากรรม เพิ่มความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เชิงรูปธรรมในลักษณะของการจดจำเชิงภาพ แทนค่าสัญลักษณ์ของความเป็นเกาะที่มีนัยยะสำคัญของวิถีการอยู่ร่วมและพึงพิงกัน ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ โดยใช้สัญลักษณ์ของนกเงือกที่อาศัยอยู่ในป่าบนพื้นที่เกาะพะลวย วัตถุประสงค์โครงการ 1.เพื่อพัฒนำเสริมสร้างศักยภาพเชิงท่องเที่ยวในลักษณะของจุดเด่นเชิงภาพ การสร้างประติมากรรมนกเงือก เป็นดั่งเช่นสัญลักษณ์ของเกาะพะลวย สื่อความหมายในการท่องเที่ยวสถานที่แห่งนี้ 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพการจดจำหมายทางสายตาหลักเขตเชิงวัตถุ (landmark) ประติมากรรมนกเงือก เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเกาะพะลวย 3.เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมจิตสำนึกการอนุรักษณ์ธรรมชาติให้แก่ชุนชนในเกาะและนักท่องเที่ยว ชาวบ้านทั่วไปเห็นความสำคัญของนกเงือก อันเป็นจุดขายและสร้างรายได้ในการท่องเที่ยวในเกาะพะลวย วิธีการดำเนินการ ลงสำรวจพื้นที่ออกแบบร่วมกับชุมชนประมวลผล ชิ้นงาน กำหนด วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ติดตั้งที่อ่าวสอง เกาะพะลวย สร้างต้นแบบผลงานประติมากรรม ปั้นดินขยายตามแบบร่างขยายตามสัดส่วนต้นแบบ หล่อแม่พิมพ์ประติมากรรมนกเงือก หล่อแม่พิมพ์เป็นผลงานไฟเบอร์กลาส ขั้นตอนการขัดแต่งและทาสีรองพื้นตัวนกเงือกโดยนักศึกษาศิลปศึกษา การสร้างโครงเหล็กฐานประติมากรรม การขนย้ายวัสดุอุปกรณ์รวมทั้งฐานและตัวประติมากรรมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีไปยังบ้านเกาะพะลวย หมู่ที่ 6 ของตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี การออกแบบยกระดับฐานรองรับประติมากรรม เพื่อแก้ปัญหาเรื่องทัศนวิสัยในการมอง เนื่องจากมีก้อนหินขนาดใหญ่บังด้านหน้า โดยการสร้างพื้นยกระดับโดยการก่อปูนเป็นฐานสูง 40 เซนติเมตร […]
โครงการจัดทำฐานข้อมูลและประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
ความเป็นมาและความสำคัญ เกาะพะลวย อยู่ในหมู่ที่6 ของตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากเกาะวัวตาหลับ เป็นเกาะต้นแบบพลังงานสะอาด แห่งแรกของประเทศไทยพะลวย (กรีนไอส์แลนด์) เนื่องจากประสบปัญหาด้านพลังงาน และได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จึงได้จัดให้มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเกาะพะลวย โดยสำนักศิลปและวัฒนธรรมได้จัดทำโครงการจัดทำข้อมูลและประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในยุทธศาสตร์ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรมของชุมชนเกาะพะลวย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตและศิลปกรรมที่มีอยู่ จึงทำการสำรวจและจัดทำแหล่งข้อมูลท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไม่ให้สูญหายหรือหมดคุณค่า ให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมเป็นไปตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน จะช่วยส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของชุมชน ให้เกิดดุลยภาพกับทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ สร้างรายได้ทดแทนอีกทางหนึ่ง วัตถุประสงค์ของโครงการ 1) เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อมและแหล่งวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชนบ้านเกาะพะลวย 2) เพื่อจัดทำข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมและข้อมูลทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านเกาะพะลวย ขอบเขต เนื้อหา : ภูมิทัศน์วัฒนธรรม , วิถีชุมชน ประชากร : พื้นที่ทั้ง 4 อ่าวของเกาะพะลวย เวลา : (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2560) ได้ลงพื้นที่ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 8-10 […]
โครงการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักเรียนและประชาชนทั่วไป ณ โรงเรียนบ้านเกาะพะลวย วันที่ 27 เมษายน 2560 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ความเป็นมาของโครงการ การทำประชาคม การนำเสนอแผนโครงการแก่ชาวบ้าน ปรับโครงการให้ตรงความต้องการของชาวบ้าน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายทางด้านค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินต่างๆ ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ขั้นการดำเนินโครงการ ประสิทธิผลของโครงการ ผลผลิต (Output) ที่ได้จากการดำเนินโครงการ : ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และฝึกฝนทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ : ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 49 คน มีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ผลกระทบ (Impact) ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ : ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูแลหรือช่วยเหลือบุคคลที่พบเห็นเพื่อลดความเสี่ยงต่อชีวิตได้ ผลการดำเนินงานโครงการ นักเรียนและชาวบ้านมีความรู้ด้านการปฐมพยาบาลในการดูแลตนเองและผู้อื่นในเบื้องต้น มีการดำเนินงานการตั้งศูนย์กู้ภัยทางน้ำ ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งตั้งอยู่ที่ เกาะพะลวย โดยจะจัดฝึกอบรมในเดือน พฤศจิกายน 2560 โดยทีมการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กลไกการเรียนรู้ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้การการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ผู้เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นในการฝึกทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ผู้เข้าร่วมโครงการมีการแลกเปลี่ยนเรียนจากประสบการณ์ที่พบมาในอดีตแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้เนื่องจากขาดความรู้ และทักษะ ผลกระทบจากโครงการที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ท้องถิ่น ประเทศชาติ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น […]
โครงการวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นบนเส้นทางท่องเที่ยว ดอนสัก-พะลวย
วัฒนธรรมอาหาร เป็นหนึ่งของวัฒนธรรมที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันของคนต่างวัฒนธรรม วัฒนธรรมอาหารยังเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของอุปนิสัยภูมิปัญญาวิถีชีวิตนอกจากนี้วิธีการกินการปรุงฤดูกาลนี้เวลาที่เหมาะสมหรือความเชื่อของการกินอาหารแต่ละชนิดแต่ละอย่างล้วนเกิดจากประสบการณ์ของบรรพบุรุษทั้งสิ้นซึ่งอาหารแต่ละชนิดเหมาะสมกับภูมิอากาศและสุขภาพของคนที่อาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่วัฒนธรรมอาหารมีความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับความเชื่อโดยเฉพาะการหาวัสดุดิบมาปรุงอาหารจะมีเรื่องความเชื่อกำกับไว้แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ความเชื่อที่เกี่ยวกับอาหารนั้นส่วนใหญ่จะให้คุณกับร่างกาย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีเป็นสถานศึกษาซึ่งมีความใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นได้มีนโยบายพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจึงได้กำหนดโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอนสัก-พะลวย ขึ้น เพื่อพัฒนาเชื่อมโยงชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามสภาพบริบทของชุมชนโดยได้มอบหมายให้แต่ละคณะฯ เข้าไปศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนร่วมกับประชาชน ซึ่งประกอบด้วยชุมชนบ้านเขากลอย ชุมชนบ้านนางกำ ชุมชนบ้านเกาะแรต ชุมชนบ้านปากคอดอนสัก ชุมชนบ้านเกาะนกเภา และชุมชนเกาะพะลวย ใช้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวแห่งใหม่ คณะผู้จัดโครงการ จึงได้รวบรวมวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นบนเส้นทางท่องเที่ยวดอนสัก-พะลวย ไว้บางส่วน เพื่อเผยแพร่ของดีชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักและยามมาเยือนจะได้ลิ่นลองรสชาติอาหารและหาชื้อเป็นของฝาก วัฒนธรรมอาหารชุมชนบ้านเขากลอย (ป่าต้นน้ำหัวคลอง) กลอย เป็นอาหารที่ถือว่าเป็นของพื้นถิ่นดั้งเดิม คือ ต้นกลอยกลอยจัดเป็นพืชล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมขุดหัวกลอยมาต้มกิน หรือบางทีก็จะหุงรวมกับข้าว ทำเป็นอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น กินกลอยคลุกน้ำตาลกับมะพร้าว หรือนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูล ทำเป็นข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยาหรือโรยน้ำตาลป่นปนกับงาก็อร่อย หรือจะหั่นกลอยเป็นชิ้นบางๆ นำไปชุบแป้งทอดกินแบบกล้วยแขกอาบน้ำตาลหรือจะทำเป็นกลอยบด กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย และบัวลอยกลอยก็อร่อย หัวกลอยก่อนจะนำมากินจะต้องล้างสารพิษออกมาให้หมด โดยฝานหัวกลอยเป็นชิ้นบางๆ นำมาแช่ในน้ำเกลือแล้วถ่ายน้ำทิ้ง หลายๆครั้ง หรือนำมาแช่ในน้ำไหลเพื่อให้น้ำชะล้างสารพิษออกให้หมด เพราะสารที่อยู่ในเนื้อกลอยที่ชื่อ dioscorine เป็นแอลคาลอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำหรืออีกวิธีหนึ่งง่ายๆคือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนาประมาณ 1-1.5 ซม. นำหัวกลอยที่หั่นแล้วไปใส่ในภาชนะ ใส่ชิ้นกลอยที่หั่นแล้วลงไปในภาชนะหนาประมาณ 10 ซม.โรยเกลือให้ทั่วหน้า 1-2 ซม. […]
โครงการสำรวจผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสู่การท่องเที่ยว หน่วยบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาราชภัฏสุราษฎร์ธานี
หลักการและเหตุผล ด้วยพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ ที่สอดรับกับนโยบายสำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ที่สามารถสร้างมูลค่าได้เป็นจำนวนมาก แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ยังขาดความสมบูรณ์ในสายตาของนักท่องเที่ยว นั่นคือ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวยังขาดสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ หน่วยบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “สำรวจผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสู่การท่องเที่ยว” ขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ มีผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์ในชุมชนของตนเอง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน บ้านเกาะแรต จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลิตภัณฑ์ปลาวง (ปลาจ้องม่อง) ปลาวง พบได้มากในพื้นที่เกาะแรต ชาวบ้านนิยมนำมาทำเป็นอาหารทะเลแปรรูป โดยนำมาแล่เนื้อออกเป็นแผ่นบาง ๆ รูปวงกลม นำไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงนำไปใส่ถุงพลาสติกใสจำหน่าย โดยราคาจำหน่ายถุงละ 50 บาท ผลิตภัณฑ์ปลาเส้นตากแดด ปลาเส้น เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเลที่ทำมาจากปลาหลังเขียวหรือปลาโคบ โดยชาวบ้านจะนำมาทำเป็นเส้นฝอย ๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนนำไปบรรจุใส่ถุงพลาสติกเพื่อจำหน่ายต่อไป โดยจำหน่ายในราคา 50/100 บาท ผลิตภัณฑ์หมึกแห้ง หมึก เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเลที่พบได้มากเช่นเดียวกัน […]
หอสมุดกลางบริการวิชาการ จัดห้องสมุด โรงเรียนบ้านเกาะพลวย อ.เกาะสมุย
หอสมุดกลาง ร่วมกับกองบริการวิชาการพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอนสัก-เกาะพลวย โดยจัดกิจกรรมพัฒนาศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษา ณ โรงเรียนบ้านเกาะพลวย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 23-24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยบุคลากรหอสมุดกลางลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ครู นักเรียน และชาวบ้านในด้านการดำเนินงานห้องสมุด การจัดกิจกรรม อีกทั้งยังช่วยกันพัฒนาห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชนต่อไป