ปากคลองดอนสัก

ชื่อที่มาของ “ปากคลองดอนสัก” มาจากประวัติศาสตร์บอกเล่าของชาวบ้านในชุมชน โดยบริเวณชุมชนที่ตั้งอยู่นี้เป็นบริเวณปากคลอง จึงเรียกว่า “ปากคลอง” ส่วนคำว่าดอนสัก สันนิษฐานได้ดังนี้ 1) เดิมบริเวณแถบนี้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ไม้สักเขา“ เป็นไม้เนื้อแข็งงอกขึ้นกระจัดกระจายทั่วไปในพื้นที่ดังกล่าว โดยชาวบ้านนิยมตัดโค่นมาทำเสาบ้านหรือหนำ เพราะขนาดลำต้นไม้ใหญ่ ก่อนจะนำมาใช้งานจะต้องปอกเปลือกและนำไปลนไฟเสียก่อนเพราะมอดชอบชอนไช ปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างแต่ปริมาณน้อยมาก 2) บริเวณพื้นที่ดอนสักในอดีตเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิดเนื่องจากมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์จึงเรียกพื้นที่แห่งนี้ว่า “ดอนสัตว์” ต่อมาอาจเรียกเสียงผิดเพี้ยนมาเป็น “ดอนสัก” 3) สันนิษฐานว่ามาจากชื่อดอนสักสิทธ์ เนื่องจากบริเวณแห่งนี้เป็นดอน มีสิ่งศักดิ์สิทธ์นับถือ 4 อย่าง คือ พ่อเขาชะโงก พ่อเขาหัวล้าน  แม่ยายอาม และแหลมทวด จึงได้เรียกบริเวณแห่งนี้ว่า “ดอนศักดิ์สิทธ์”

เขาชะโงก

เป็นที่ตั้งของศาลพ่อปู่เขาชะโงกที่ชาวบ้านและชาวประมงในอำเภอดอนสักให้ความเคารพและบูชา ขอพรเกี่ยวกับการทำงาน การออกเรือ

พิพิธภัณฑ์ปลาหิน

คุณลุงกิตติ สินอุดม ได้แกะสลักหินเป็นรูปพันธุ์ปลาต่างๆ ที่มีในอ่าวไทย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จักพันธุ์ปลา มีปลาหินที่แกะสลักแล้วกว่า 3,000 ชิ้น

วังหิน

เป็นชายหาดที่เต็มไปด้วยโขดหินสวยงาม พร้อมสวนสาธารณะขนาดย่อมรอบหาดสามารถนั่งพักผ่อนและชมทิวทัศน์ และมีรูปปั้นแสดงการแต่งกายของไทยสมัยต่างๆ

วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์

เป็นวัดที่พระครูสุวรรณประดิษฐ์การ หรือหลวงพ่อจ้อย เกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคใต้เป็นผู้บุกเบิกสร้างขึ้น บนยอดเขาเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

แหลมทวด

ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ดอนสัก(แหลมทวด) อีกทั้งยังเป็นสถานทืี่พักผ่อนหย่อนใจ ชมวิธีชาวประมงบริเวณริมๆ ท่าเทียบเรือที่มีนั่งร้านทอดแหจับปลากัน และสามารถชมโลมาจากตรงนี้ได้

สะพานปลา

ท่าเทียบเรือประมงของชาวประมงที่ดอนสัก ซึ่งมีสะพานทอดยาวยื่นไปในทะเล โดยมีชาวประมงจำนวนมากเทียบเรือเพื่อขน ปู กุ้ง กั้ง ปลา หมึก ฯลฯ ที่หามาได้และนำไปขายต่อ

เขาชะโงก

ชุมชนปากคลองดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎรธานี ประมาน 62 กม. แหล่งท่องเที่ยวชุมชนปากคลองดอนสัก มีพื้นทีที่ติดกับแผ่นดินใหญ่ ทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวในหลายรูปแบบ 1 ในนั้นมีพ่อปู่เขาชะโงก เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ตั้งของศาลพ่อปู่เขาชะโงกที่ชาวบ้านและชาวประมงในอำเภอดอนสักให้ความเคารพและบูชา ขอพรเกี่ยวกับการทำงาน การออกเรือ

เขาชะโงก

การเดินทาง สามารถเดินทางได้ 2 ทางคือ ทางน้ำและทางบก

  • ทางบก สามารถเดินทางมาได้จากโรงเรียนบ้านปากดอนสัก ซึ่งจะมีทางเท้าที่สามารถเดินมายังศาลพ่อปู่เขาชะโงก
  • ทางน้ำ สามารถขึ้นเรือได้บริเวณท่าเทียบเรือดอนสัก ซึ่งจะมองเห็นเขาชะโงกได้จากท่าเทียบเรือ ซึ่งจะมีเรือโดยสารให้บริการอยู่ คิดค่าบริการ 10 บาท (ขาไป 5 บาท ขากลับ 10 บาท)

ท่าเทียบเรือเพื่อข้ามไปยังเขาชะโงก ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากท่าเทียบเรือ

สท. เพชรรุ่ง และผู้ใหญ่แสบ ผู้นำทางให้กับทีมงาน

เรือโดยสาร

ทีมงานของเราได้รับความอนุเคราะห์จาก สท. เพชรรุ่ง และผู้ใหญ่แสบ ในการนำทางและให้ข้อมูล โดยได้นำเรือมารับพวกเราถึงท่าเทียบเรือและข้ามฟากไปยังเข้าชะโงก ซึ่งอยู่ไม่ไกลมาก ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็ถึงเขาชะโงก

บรรยากาศเมี่อถึงเขาชะโงก

เมื่อเรือขับเข้าใกล้เขาชะโงก เราจะเห็นต้นแสมรายล้องอยู่รอบทางเข้า ซึ่งถ้าไม่ใช่คนในพื้นที่อาจจะมองไม่เห็นทางเข้าก็ได้ สังเกตจากสีน้ำจะมีสีเขียวอมฟ้าสะอาดตา โดยเขาชะโงกมีลักษณะเป็นเขาหินปูนสูงคล้ายรูปสามเหลี่ยม ด้านบนมนและโค้งเล็กน้อยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเขาชะโงก

เขาชะโงกมีลักษณะเป็นเขาหินปูน

จอดเรือเทียบไว้กับต้นแสม

ศาลพ่อปู่เขาชะโงก

เมื่อลงจากเรือเราจะพบป้ายศาลพ่อปู่เขาชะโงกด้านขวามือ เมื่อมองเข้าไปจะคล้ายเป็นถ้ำซึ่งไม่ลึกมาก ภายในมีศาลและรูปปั้นพ่อปู่ภายใน ซึ่งชาวบ้านและชาวประมงในอำเภอดอนสักและใกล้เคียงให้ความเคารพและบูชา ขอพรเกี่ยวกับการทำงาน การออกเรือ

ศาลพ่อปู่เขาชะโงก

ด้านหน้าศาลพ่อปู่เขาชะโงก

ภายในศาลพ่อปู่เขาชะโงก

ศาลพ่อปู่เขาชะโงก

ถัดจากศาลพ่อปู่เขาชะโงกจะมีทางเดินเลียบเขาซึ่งติดกับทะเลซึ่งเป็นทางที่สามารถไปยังถ้ำมังกร ถ้ำหมู ถ้ำค้างคาว ถ้ำรังนก และไปทะลุโรงเรียนบ้านปากดอนสักซึ่งเป็นทางบกที่สามารถมายังเข้าชะโงกแห่งนี้ได้

ทางเดินเลียบเขาชะโงก

ทางเดินเลียบเขาชะโงก ระยะทางไม่ยาวมากนัก

ระหว่างเราจะพบกับเจ้าบ้าน ก็คือลิงจำนวนมากเกาะอยู่ตามต้นแสม มีทั้งลูกลิง พ่อลิง แม่ลิง โดยที่ฝูงลิงไม่รู้สึกกลัวคนสักเท่าไหร่ ผู้ใหญ่แสบมีกล้วยติดมาด้วย เพราะรู้ว่าที่นี่มีฝูงลิง ทีมงานเราก็เลยได้ให้อาหารลิงซึ่งก็เป็นกล้วยของผู้ใหญ่แสบนั่นเอง

ได้กล้วยไปหนึ่งลูกไม่สนใจใครแล้ว

มีความอร่อย

ฝูงลิงเขาชะโงก

ใครมาเขาชะโงกอย่าลืมผลไม้ให้พวกเราด้วยน่ะ

สุดทางเดินเลียบเขาก็จะเจอป่า และมีทางเท้าอยู่

ระหว่างก็จะพบถ้ำที่อยู่ริมๆ เขาชะโงก เช่น ถ้ำหมู

ผู้ใหญ่แสบนำทางไปถ้ำมังกร

ทางเข้าถ้ำจะแคบๆ หน่อย สามารถเข้าไปได้

ภายในถ้ำมืดมาก

เมื่ออกจากถ้ำเราก็เดินเข้าไปอีก เพราะด้านในจะมีชายหาด

จากนั้นเราก็มาถึงชายหาด ซึ่งก็ไม่มีคนเพราะว่าไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยว

วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์

หลังจากไปกราบพ่อปู่เขาชะโงกแล้ว ก็ออกเดินทางมายังท่าเทียบเรือเพื่อไปยังวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ซึ่งเป็นวัดที่พระครูสุวรรณประดิษฐ์การ หรือหลวงพ่อจ้อย เกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคใต้เป็นผู้บุกเบิกสร้างขึ้น โดยบนยอดเขาเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายในวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดเขาล้าน” พระกิตติมงคลพิพัฒน์ (หลวงพ่อจ้อย) ได้สร้างเจดีย์เพื่อบรรจุบรมธาตุเมื่อ พ.ศ.2525 โดยได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดพระเกียรติ อำเภอสอด จังหวัดเชียงใหม่ มาประดิษฐานไว้บนยอดเจดีย์ ปัจจุบันได้มีประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของทุกปี

การเดินทาง อยู่ห่างจากชุมชนอำเภอดอนสักประมาณ 1 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช (ทางหลวงหมายเลข 401)

วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์

เมื่อเราเข้ามาภายในวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เราจะต้องขึ้นเขาไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเจดีย์บนยอดเขาหัวล้าน โดยจะมีบันไดเพื่อให้เราเดินขึ้นเขาไปซึ่งนับขั้นบันไดแล้วน่าจะประมาณ 185 ขั้น หากว่าเราไม่เดินขึ้นเขาทางบันไดนี้ ก็สามารถขับรถขึ้นไปทางด้านข้างได้ซึ่งก็จะไปถึงบริเวณหลังพระเจดีย์ แต่มีที่จอดรถอยู่น้อยมาก ประมาณ 4-5 คัน แต่แนะนำว่าควรเดินบันไดขึ้นเพื่อความท้าทาย จะได้ออกกำลังกายไปด้วย

บันไดทางขึ้นวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เริ่มเดินทางได้

ระหว่างทางที่เดินขึ้นมา

เดินขึ้นมาได้สูงแล้ว ให้กำลังใจตัวเองระหว่างทาง

เกือบถึงแล้ว เห็นเจดีย์ด้านบนแล้ว

อีกนิดเดียวแล้ว หยุดหอบและหายใจลึกๆ เข้าไว้

และในที่สุดก็ถึงจุดหมาย

ไม้สักทองบริเวณเขาหัวล้าน

เรื่องเล่าระหว่างทางขึ้นเขาหัวล้าน ที่เราจะไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ระหว่างทางขึ้นที่เราขึ้นบันไดมาจะเห็นต้นสัก หรือไม้สักทองจำนวนมาก ซ฿่งเราได้ข้อมูลจาก สท. เพชรรุ่ง ว่าไม้สักทองบริเวณเขาหัวล้านแห่งนี้ หลวงพ่อจ้อยและชาวบ้านได้ร่วมกันปลูกไว้ เนื่องด้วยเมื่อก่อนเขาแห่งนี้มีต้นไม้น้อย ซึ่งก็เป็นที่มาของชื่อเขาหัวล้าน หลวงพ่อจ้อยจึงได้ปลูกไว้จนปัจจุบันมีมากในบริเวณเขาหัวล้านแห่งนี้

ไม้สักทองบริเวณเขาหัวล้าน

ถึงแล้วเจดีย์วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อขึ้นมาจนถึงแล้วเราจะต้องสักการะพ่อตาเขาหัวล้าน ซึ่งมีศาลอยู่ด้านซ้ายมือจากตอนที่เราเดินขึ้นมาจนถึงบันไดขัี้นบนสุด พ่อตาเขาหัวล้าน พ่อท่านยอดเขา ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นที่สถิตของพ่อท่านยอดเขาซึ่งเป็นเทพยดารักษา เขาล้านและดินแดนโดยรอบ ประชาชนมีความเคารพนับถือมากเมื่อจะทำกิจการใดให้สำเร็จต้องบนบานพ่อท่านยอดเขา โดยชาวประมงมักจะมาบูชาและเปลี่ยนดอกไม้เพื่อนำกลับไปผูกเรือของตนเอง

ศาลพ่อตาเขาหัวล้าน หรือพ่อท่านยอดเขา

พ่อท่านยอดเขา

ทีมงานเราจึงได้กราบไหว้ขอพรจากพ่อท่านยอดเขา จากนั้นจึงเขาไปในเจดีย์เพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุ

ภายในเจดีย์วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

มีดอกไม้ให้บูชา และร่วมทำบุญกันตามศรัทธา

ทางวัดได้จัดโต๊ะหมู่บูชาไว้รอบพระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เดินสำรวจทำให้พบประวัติว่าครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์และทรงยกยอดเจดีย์ ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน 2526

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์และทรงยกยอดเจดีย์

เมื่อเดินออกมาด้านนอกซึ่งเป็นส่วนด้านหลังของเจดีย์ จะมีเสายกยอดของพระธาตุเจดีย์บรมสารีริกธาตุ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯ ยกยอดทอง เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2526

เสายกยอดทองของพระธาตุเจดีย์บรมสารีริกธาตุ

เสายกยอดทองของพระธาตุเจดีย์บรมสารีริกธาตุ

มณฑปหลวงพ่อจ้อย (พระกิตติมงคลพิพัฒน์)
เมื่อเราสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่ตั้งอยู่บนยอดเขาหัวล้านแล้ว ก็เดินลงมาด้านล่างมายังมณฑปหลวงพ่อจ้อย (พระกิตติมงคลพิพัฒน์) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ ซึ่งมีประวัติหลวงพ่อจ้อยไว้ โดยหลวงพ่อจ้อยบวชเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2490 และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ในระยะเวลาที่พระกิตติมงคลพิพัฒน์จำพรรษาอยู่ ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ ได้พัฒนาท้องถิ่น เช่น ถนนสายดอนสัก-ขนอม ริเริ่มนำเครื่องปั่นไฟมาใช้ในบ้านดอนสัก ประสานงานหน่วยเจาะบาดาลกระทรวงมหาดไทยและต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งให้ดำเนินการเรื่องน้ำจนชาวดอนสักมีน้ำประปาใช้จนถึงทุกวันนี้ สร้างเจดีย์บรรจุบรมธาตุเมื่อ พ.ศ.2525 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดพระเกียรติ อำเภอสอด จังหวัดเชียงใหม่ มาประดิษฐานไว้บนยอดเจดีย์ ปัจจุบันได้มีประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของทุกปี สร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ได้เสด็จมาประกอบพิธีต่างๆ ในวัดแห่งนี้หลายครั้งด้วยกัน

พระกิตติมงคลพิพัฒน์ มรณภาพเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 อายุ 89 ปี พรรษา 46 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินอย่างเป็นทางการมาเป็นองค์ประธานในการบรรจุศพและเททองหล่อรูปเหมือนพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (หลวงพ่อจ้อย) เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540

ภายในมณฑปประดิษฐานสรีระหลวงพ่อจ้อย

พิพิธภัณฑ์ปลาหิน

คุณลุงกิตติ สินอุดม เป็นชาวจังหวัดเพชรบุรีโดยกำเนิด มีความคุ้นเคยกับอาชีพประมงตั้งแต่เยาว์วัย ต่อมาคุณลุงกิตติได้ทำอาชีพประมงและได้สร้างครอบครัวอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยความเป็นมืออาชีพทำให้ได้สัมผัสกับปลาและสัตว์ทะเลนานาชนิดเป็นเวลายาวนาน
คุณลุงกิตติเริ่มมีความรู้สึกว่าปลาชนิดต่างๆ และสัตว์ทะเลเริ่มหายากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งอาจสูญพันธุ์ได้ในอนาคต ด้วยความคิดในการเป็นนักอนุรักษ์และมีความสามารถในทางศิลปะด้านแกะสลักหิน จึงได้ริเริ่มแกะสลักปลาชนิดต่างๆ และสัตว์ทะเลหายาก เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จักและมีความตระหนักในการอนุรักษ์ปลาและสัตว์ทะเลในเชิงศิลปะที่สวยงาม คุณลุงกิตติได้แกะสลักปลาหินเป็นจำนวนมากจึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ปลาหินขึ้นที่บ้านของคุณลุง เพื่อรวบรวมผลผลิตปลาหินเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปลาและสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

พิพิิธภัณฑ์ปลาหิน

คุณลุงกิตติ สินอุดม ผู้แกะปลาหินทั้งหมด

ปลาหินที่คุณลุงกิตติแกะสลักกว่า 3,000 ชิ้น

คุณลุงกิตตินำหินมาแกะสลักเป็นรูปปลาได้อย่างสวยงามและเหมือนจริงมากๆ

งานแกะสลักปลาหินของคุณลุงกิตติ

งานแกะสลักปลาหินของคุณลุงกิตติมีหลากหลายสายพันธุ์

แกะด้วยรักสลักด้วยใจ

สามารถเยี่ยมชมผลงานแกะสลักปลาหินของคุณลุงกิตติได้ที่พิพิธภัณฑ์ปลาหิน อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี

วังหิน

ชายหาดวังหิน เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่บริเวณแหลมทวด หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ใกล้กับท่าเรือเอนกประสงค์อำเภอดอนสัก และอยู่ในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก ห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 62 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่เต็มไปด้วยโขดหินสวยงาม พร้อมสวนสาธารณะขนาดย่อมรอบหาดสามารถนั่งพักผ่อนและชมทิวทัศน์ และมีรูปปั้นแสดงการแต่งกายของไทยสมัยต่างๆ

วังหิน

รูปปั้นแสดงการแต่งกายของจังหวัดต่างๆ ตามยุคสมัย ภายในสวนสาธารณะ

รูปปั้นแสดงการแต่งกายของจังหวัดต่างๆ ตามยุคสมัย ภายในสวนสาธารณะ

รูปปั้นแสดงการแต่งกายของจังหวัดต่างๆ ตามยุคสมัย ภายในสวนสาธารณะ

แสดงสัญลักษณ์ประจำจังหวัดทางภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด

ในสวนสาธารณะจะมองเห็นทะเลและสะพานข้ามไปยังเกาะแรต

ทางเดินภายในสวนสาธารณะสามารถลงไปยังชายหาดได้

แหลมทวด

ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ดอนสัก(แหลมทวด) อีกทั้งยังเป็นสถานทืี่พักผ่อนหย่อนใจ ชมวิธีชาวประมงบริเวณริมๆ ท่าเทียบเรือที่มีนั่งร้านทอดแหจับปลากัน และสามารถชมโลมาจากตรงนี้ได้

ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ดอนสัก(แหลมทวด)

แหลมทวดเป็นท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ โดยจะมีบริการเรือเร็วลมพระยาไปยังเกาะสมุยและเกาะพะงัน

บริเวณท่าเทียบเรือจะมีนั่งร้านของชาวประมงไว้ทอดแหเพื่อจับปลาใกล้ๆ ฝั่ง

ชาวประมงทอดแหบนนั่งร้าน

นั่งดูชาวประมงทอดแห เพลินๆ ก็จะเห็นเค้าจับได้เยอะมากๆ

หว่านแหลงไปแล้ว

ที่ปลายแหคือปาที่จับได้

สะพานปลา

ท่าเทียบเรือประมงของชาวประมงที่ดอนสัก ซึ่งมีสะพานทอดยาวยื่นไปในทะเล โดยมีชาวประมงจำนวนมากเทียบเรือเพื่อขน ปู กุ้ง กั้ง ปลา หมึก ฯลฯ ที่หามาได้และนำไปขายต่อ

ทางเข้าสะพานปลา

เรือประมงที่มาจอดเพื่อขนสัตว์ทะเลที่หามาได้ขึ้นยังสะพานปลา

คุณลุงนั่งแกะปลาออกจากอวน

ช่วยกันแกะปลาออกจากอวน

ศาลแม่ยายอาม

เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอำเภอดอนสักให้ความเคารพนับถือและบูชา ศาลแม่ยายอามตั้งอยู่บริเวณถนน ดอนสัก-ขนอม โดยชาวบ้านจะมาบนบานศาลกล่าวทั้งในด้านการงาน การเรียน และแก้บนด้วยการจุดประทัด

ศาลแม่ยายอาม

ศาลแม่ยายอาม

ศาลแม่ยายอาม

ศาลแม่ยายอาม