โครงการสำรวจผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสู่การท่องเที่ยว หน่วยบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Home » บริการวิชาการ » โครงการสำรวจผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสู่การท่องเที่ยว หน่วยบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาราชภัฏสุราษฎร์ธานี

โครงการสำรวจผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสู่การท่องเที่ยว หน่วยบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาราชภัฏสุราษฎร์ธานี

หลักการและเหตุผล

ด้วยพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ ที่สอดรับกับนโยบายสำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ที่สามารถสร้างมูลค่าได้เป็นจำนวนมาก แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ยังขาดความสมบูรณ์ในสายตาของนักท่องเที่ยว นั่นคือ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวยังขาดสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ

ด้วยเหตุนี้ หน่วยบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “สำรวจผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสู่การท่องเที่ยว” ขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ มีผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์ในชุมชนของตนเอง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

 

บ้านเกาะแรต จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผลิตภัณฑ์ปลาวง (ปลาจ้องม่อง)

  • ปลาวง พบได้มากในพื้นที่เกาะแรต ชาวบ้านนิยมนำมาทำเป็นอาหารทะเลแปรรูป โดยนำมาแล่เนื้อออกเป็นแผ่นบาง ๆ รูปวงกลม นำไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงนำไปใส่ถุงพลาสติกใสจำหน่าย โดยราคาจำหน่ายถุงละ 50 บาท

 

 

 

ผลิตภัณฑ์ปลาเส้นตากแดด

  • ปลาเส้น เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเลที่ทำมาจากปลาหลังเขียวหรือปลาโคบ โดยชาวบ้านจะนำมาทำเป็นเส้นฝอย ๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนนำไปบรรจุใส่ถุงพลาสติกเพื่อจำหน่ายต่อไป โดยจำหน่ายในราคา 50/100 บาท

 

 

ผลิตภัณฑ์หมึกแห้ง

  • หมึก เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเลที่พบได้มากเช่นเดียวกัน ชาวบ้านจะนำหมึกมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดและตากให้แห้ง ก่อนบรรจุลงถุงพลาสติก ส่วนใหญ่เน้นจำหน่ายในรูปแบบค้าส่ง และขายปลีกในพื้นที่

 

 

 

ผลิตภัณฑ์กุ้งแห้ง

  • กุ้งแห้งในพื้นที่ดอนสัก จะมีขนาดตัวโต รสชาติไม่เค็มมากจนเกินไปผลิตกันมากแทบทุกครัวเรือน ราคาจำหน่ายขั้นต่ำ 100 บาท/ถุง

 

 

 

ชุมชนนางกำ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผลิตปลาเกล็ดขาว

  • ผลิตโดย “กลุ่มสตรีชุมชน” หัวหน้ากลุ่มคือ “คุณป้าลำไย และคุณหนิง” ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบจากทะเล ผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน คือปลาเกล็ดขาว เนื่องจากพบได้มาก ชาวบ้านนิยมนำมาทำเป็นปลาตากแห้งจำหน่าย

 

 

 

 

ผลิตภัณฑ์กะปิ

  • ผลิตและจำหน่ายโดย “กลุ่มสตรีชุมชน” หัวหน้ากลุ่มคือ “คุณป้าลำไย และคุณหนิง” ผลิตภัณฑ์กะปิมีทั้งทำโดยชุมชน และมีการนำมาฝากขายจากท้องถิ่นอื่น

 

 

เกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผลิตภัณฑ์ปลากระบอกร้า

  • ปลากระบอกที่เกาะพะลวย สามารถพบเห็นได้ทั่วไป และขนาดตัวใหญ่กว่าพื้นที่อื่น ๆ ที่มาจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล ชาวบ้านนิยมนำมาถนอมอาหารด้วยการทำเป็นปลากระบอกร้า และมีการจำหน่ายตามขนาดของปลา

 

 

 

ผลิตภัณฑ์ของฝากและของที่ระลึก

  • เนื่องจากเกาะพะลวยกำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ชาวบ้านจึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อนำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากทะเลที่นำมาทำเป็นสินค้าของที่ระลึกเพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว

 

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว

  • ปลาวง (ปลาจ้องม่อง) บ้านเกาะแรต
  • กุ้งแห้งบ้านเกาะแรต
  • ปลาเกล็ดขาวชุมชนนางกำ
  • ปลากระบอกร้าเกาะพะลวย