โครงการวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นบนเส้นทางท่องเที่ยว ดอนสัก-พะลวย

Home » บริการวิชาการ » โครงการวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นบนเส้นทางท่องเที่ยว ดอนสัก-พะลวย

โครงการวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นบนเส้นทางท่องเที่ยว ดอนสัก-พะลวย

วัฒนธรรมอาหาร เป็นหนึ่งของวัฒนธรรมที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่มีการเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันของคนต่างวัฒนธรรม วัฒนธรรมอาหารยังเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของอุปนิสัยภูมิปัญญาวิถีชีวิตนอกจากนี้วิธีการกินการปรุงฤดูกาลนี้เวลาที่เหมาะสมหรือความเชื่อของการกินอาหารแต่ละชนิดแต่ละอย่างล้วนเกิดจากประสบการณ์ของบรรพบุรุษทั้งสิ้นซึ่งอาหารแต่ละชนิดเหมาะสมกับภูมิอากาศและสุขภาพของคนที่อาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่วัฒนธรรมอาหารมีความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับความเชื่อโดยเฉพาะการหาวัสดุดิบมาปรุงอาหารจะมีเรื่องความเชื่อกำกับไว้แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ความเชื่อที่เกี่ยวกับอาหารนั้นส่วนใหญ่จะให้คุณกับร่างกาย

มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีเป็นสถานศึกษาซึ่งมีความใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นได้มีนโยบายพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจึงได้กำหนดโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวดอนสัก-พะลวย ขึ้น เพื่อพัฒนาเชื่อมโยงชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามสภาพบริบทของชุมชนโดยได้มอบหมายให้แต่ละคณะฯ เข้าไปศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนร่วมกับประชาชน ซึ่งประกอบด้วยชุมชนบ้านเขากลอย ชุมชนบ้านนางกำ ชุมชนบ้านเกาะแรต ชุมชนบ้านปากคอดอนสัก ชุมชนบ้านเกาะนกเภา และชุมชนเกาะพะลวย ใช้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวแห่งใหม่

คณะผู้จัดโครงการ จึงได้รวบรวมวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นบนเส้นทางท่องเที่ยวดอนสัก-พะลวย ไว้บางส่วน เพื่อเผยแพร่ของดีชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักและยามมาเยือนจะได้ลิ่นลองรสชาติอาหารและหาชื้อเป็นของฝาก

วัฒนธรรมอาหารชุมชนบ้านเขากลอย  (ป่าต้นน้ำหัวคลอง)

กลอย เป็นอาหารที่ถือว่าเป็นของพื้นถิ่นดั้งเดิม คือ ต้นกลอยกลอยจัดเป็นพืชล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมขุดหัวกลอยมาต้มกิน หรือบางทีก็จะหุงรวมกับข้าว  ทำเป็นอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น กินกลอยคลุกน้ำตาลกับมะพร้าว หรือนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูล ทำเป็นข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยาหรือโรยน้ำตาลป่นปนกับงาก็อร่อย หรือจะหั่นกลอยเป็นชิ้นบางๆ นำไปชุบแป้งทอดกินแบบกล้วยแขกอาบน้ำตาลหรือจะทำเป็นกลอยบด กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย และบัวลอยกลอยก็อร่อย หัวกลอยก่อนจะนำมากินจะต้องล้างสารพิษออกมาให้หมด โดยฝานหัวกลอยเป็นชิ้นบางๆ นำมาแช่ในน้ำเกลือแล้วถ่ายน้ำทิ้ง หลายๆครั้ง หรือนำมาแช่ในน้ำไหลเพื่อให้น้ำชะล้างสารพิษออกให้หมด เพราะสารที่อยู่ในเนื้อกลอยที่ชื่อ dioscorine เป็นแอลคาลอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำหรืออีกวิธีหนึ่งง่ายๆคือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนาประมาณ 1-1.5 ซม. นำหัวกลอยที่หั่นแล้วไปใส่ในภาชนะ ใส่ชิ้นกลอยที่หั่นแล้วลงไปในภาชนะหนาประมาณ 10 ซม.โรยเกลือให้ทั่วหน้า 1-2 ซม. แล้วใส่ชิ้นกลอยลงไปทำสลับกับเกลือ จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืน วันรุ่งขึ้นนำกลอยที่หมักออกมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่ชิ้นกลอยที่ล้างแล้งลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง นำของหนักทับไว้เพื่อไล่นำเบื่อเมาของกลอยออกให้หมดหลังจากนั้นนำชิ้นกลอยจากถุงผ้าเทกลับในภาชนะเดิม ใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืน รุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอยมาล้างให้สะอาดและทำเช่นเดิม ประมาณ 5-7 วัน จึงจะปลอดภัยจากสารพิษและนำมาบริโภคหรือปรุงอาหารได้หรือจะผึ่งแดดให้แห้งเก็บตุนไว้เมื่อจะบริโภคจึงนำชิ้นกลอยมาแช่น้ำนำไปนึ่งหรือปรุงอาหารอื่นรับประทานได้ทั้งหมดนี้บ่งบอกให้เห็นถึงความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้ถ่ายทอด

 

วัฒนธรรมอาหาร ชุมชนบ้านนางกำ

ยำหรายข้อ (ยำสาหร่ายทะเล) เป็นสาหร่ายชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในทะเลน้ำตื้น มีลักษณะขึ้นเป็นกอเป็นย่อมๆ มีก้านแผ่ก้านอ่อนยาวเป็นข้อๆจึงเป็นที่มาของชื่อว่าสาหร่ายข้อ ชาวบ้านนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทยำ โดยเอาสาหร่ายที่หามาได้ไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปลวกในน้ำร้อนเพื่อทำความสะอาดใส่หอยแครงตัวใหญ่หั่นเป็นชิ้นๆหรือบางครั้งก็ใส่กุ้งสดๆหรือปลาหมึกสดๆแทนเครื่องผสมอย่างอื่น เช่น เนื้อมะพร้าวขูด ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง หอมแดง พริกสด เป็นต้น ส่วนเครื่องปรุงรสก็ไม่ต่างอะไรมากกับการยำทั่วๆไปแต่ใช้ความเปรี้ยวจากน้ำมะขามเปียกใส่ปรุงรส และใส่กะปิลงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความกลมกล่อมของรสชาติ ยำสาหร่ายทะเลไม่ได้มีรับประทานทั้งปี ต้องรอช่วงน้ำทะเลลดชาวบ้านจึงจะออกไปหามาประกอบเป็นอาหาร

 

 

แกงไก่บ้านกับเหมงพร้าวเหมงพร้าว (เหมงมะพร้าว) คือส่วนของพรก (กะลา) ของมะพร้าวที่ยังอ่อนอยู่ในการเตรียม ขั้นตอนก็ต้องเลือกลูกมะพร้าวที่ยังไม่มีเนื้อ หลังจากได้มะพร้าวมาต้องเฉียง(ผ่าออกจากกันเป็น 2 ซีก) แล้วตัดออกเป็นเสี้ยวเล็กๆเหมือนผ่าแตงโม จากนั้นนำมีดมาตัดตรงกะลาอ่อน โดยฝานหรือหั่นเป็นชิ้นบางๆประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ลงในกะละมังหรือหม้อซึ่งใส่น้ำและใส่เกลือไว้ หั่นจากหัวที่อ่อนที่สุดไปจนกระทั่งมีความรู้สึกว่าเริ่มแข็งก็พอและไปเริ่มเสี้ยวใหม่ เมื่อหั่นหรือฝานจนพอสำหรับใช้แกง ให้ขยำน้ำเกลือ เพื่อให้น้ำฝาด น้ำจากกาบมะพร้าวส่วนที่อ่อนสีจางลง ขยำสัก 2 น้ำแล้วนำไปต้มในน้ำดกลือ จนสุกรินน้ำทิ้ง จะได้เหมงพร้าวพร้อมแกง ส่วนไก่บ้านแต่ละบ้านเลี้ยงไก่ไว้ เมื่อได้เหมงมะพร้าว เนื้อไก่บ้าน ก็นำกะทิสดๆที่คั้นจากลูกมะพร้าวในสวนใส่เครื่องแกงซึ่งคลุกเคล้าเคย (กะปิ)ดีไว้เรียบร้อยแล้ว ถ้ามีเคยลูกปลาใส่ลงไปสักปลายช้อนสังสี(ช้อนโต๊ะ)คนกะทิอย่าให้เป็นแม่(แตกฟอง)และลงไฟเมื่อกะทิเริ่มเดือดให้ใส่ไก่หั่นที่หั่นเตรียมไว้ อย่าลืมเลือดกับเครื่องในพอน้ำแกงเดือด ให้ใส่เหมงพร้าวที่ต้มแล้วแยกน้ำไว้ให้เดือดให้ทั่วเมื่อเหมงพร้าวกับน้ำแกงเข้ากันดี ชิมรส เหยาะน้ำตาลพอเป็นชูรส ฉีกใบมะกรูดใส่ยกลง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพร้อมรับประทาน

 

 

เคยจี(กะปิย่าง) เคยจีใช้ทานกับข้าวสวยร้อนๆพร้อมผักสด หรือจะเป็นข้าวต้มก็ได้ กะปิที่ใช้ก็เป็นกะปิที่ชาวบ้านทำเองเป็นกะปิหรือเคยแท้ เพราะจะให้ความหอมของเนื้อเคยได้ดี นำมาโขลกให้เข้ากันกับพริกขี้หนูสด กระเทียมมะพร้าวขูด เมื่อได้ที่นำมาใส่ในพรก(กะลา)มะพร้าวที่จัดเตรียมไว้ ป้ายให้ทั่วแล้วนำมาย่างบนเตาถ่านไฟอ่อนๆจนสุกแค่นี้ก็สามารถรับประทานได้

 

 

 

แกงคั่วเห็ดหลุบ เห็ดหลุบเป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนวดสั้น มีชื่อเรียกหนึ่งว่า พังผืดทะเล มีพฤติกรรมเหมือนดอกไม้ทะเลทั่วไป คือจะบานเมื่อปราศจากสิ่งใดมารบกวน หากมีสิ่งใดมารบกวนจะหุบตัวเข้ากับซอกหินที่ใช้เป็นเกาะ มีสีต่างๆ ปลายหนวดลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ หากไปสัมผัสถูกเข้าจะเหนียวหนึบ วิธีการปรุงเห็ดหลุบ ล้างสะอาด (ต้องล้างให้สะอาดจริงๆ เพราะมีเม็ดทราย) หั่นเป็นชิ้นพอคำเตรียมไว้ ตั้งหม้อ กะทิใส่เครื่องแกงและกะปิ ผัดให้เข้ากันดีแล้ว ใส่เห็ดหลุบ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนเครื่องแกงซึมเข้าเนื้อ และน้ำแห้งขลุกขลิก ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อยใส่น้ำตาลปี๊บเล็กน้อย(จะไม่ใส่ก็ได้หรือใส่เพื่อปรุงแต่งรสรสชาติเล็กน้อยเท่านั้น)ใส่ใบยี่หร่าผัดให้เข้ากัน ชิมจนได้รสชาติเผ็ดกลมกล่อมทีนี้ก็กินกับข้าวสวยร้อนๆ

 

 

 

 

 

วัฒนธรรมอาหาร ชุมชุนบ้านเกาะแรต

ต้มส้มปลากะพง  ต้มส้มปลากะพงตามสูตรชาวบ้านชุมชนบ้านเกาะแรต มีขั้นตอนการทำคือนำหอมแดง ขิง พริกไทยโขลกเข้าด้วยกันให้ละเอียด ตั้งน้ำประมาณ 5 ถ้วยให้เดือดเอาส่วนผสมที่โขลกไว้ใส่หม้อ คนให้ละลายเติมเครื่องปรุง น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ คนให้เข้ากันชิมรสตามชอบพอน้ำแกงเดือด ใส่เนื้อปลากะพงไป ตามด้วยขิงซอย พอเนื้อปลาสุกใส่ผักชีลงไป แล้วปิดไฟนำไปประทานได้เลยยิ่งด้วยบ้านเราที่อากาศร้อนจัด อาจจะทำให้เป็นหวัดคัดจมูกกัน ถ้าได้ซดน้ำต้มส้มที่มีสมุนไพรหลายชนิด เผ็ดร้อนขิงและพริกไทยช่วยให้หายใจโล่งขึ้นมาอีกนิดแบบไม่ต้องพึ่งพายาทีเดียว ขิงเองก็ช่วยขับลม ชุ่มคอ น้ำมะขามเปียกช่วยระบาย ปลากะพงสดเนื้อหวาน

 

ผัดจับฉ่ายไหหลำ  เป็นการนำฟองเต้าหู้มาประกอบอาหาร ผัดฉับฉ่ายตามสูตรชาวบ้านชุมชุนบ้านเกาะแรต มีขั้นตอนการทำดังนี้ ใส่น้ำมันหมูลงผัดกับกระเทียมสับผัดจนหอมแล้วใส่หมูหรือกุ้ง ผัดจนพอสุกแล้วใส่ตามด้วยเห็ดหูหนูผัดเข็มแห้งแช่น้ำแล้วลงผัดและตามด้วยผักที่เตรียมไว้ผักกาดขาว คื่นช่าย ต้นหอม เติมเครื่องปรุงเกลือ น้ำปลา น้ำตาลรสชาติตามชอบผัดรวมกันจนสุกได้ที่ ตักรับประทานได้เลย

 

 

หมูเน่า (หมูหวาน) ส่วนประกอบสำคัญของอาหารเนื้อหมูสามชั้น กระเทียมกลับเล็ก ซีอิ้วดำ ซอสแดงเหล้า 1 เป๊ก (เหล้าขาว,จีน) เครื่องพะโล้  เต้าเจี้ยว เกลือผง และน้ำตาลปี๊บมีขั้นตอนการกระทำดังนี้ต้มน้ำในหม้อรอจนน้ำเดือดใส่น้ำมันในกระทะและนำไปตั้งไฟใส่กระเทียมและพริกไทยลงไปผัดจนหอม จากนั้นเติมหมูลงไปผัดจนเกือบสุกใส่ผลพะโล้,ซีอิ้วดำ,ซีอิ้วขาว,น้ำตาลและน้ำลงไป ต้มด้วยไฟอ่อนๆประมาณ 30 นาที จึงปิดไฟตักใส่ถ้วยแต่งหน้าด้วยผักชี รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆอร่อยมาก

 

 

ขนมทองม้วน ส่วนประกอบสำคัญดังนี้ แป้งสาลีตราว่าว มะพร้าวขูด ไข่ไก่ งาดำ น้ำตาลทราย น้ำมันพืช ขนมทองม้วนตามสูตรชาวบ้านชุมชนบ้านเกาะแรต ขั้นตอนการทำดังนี้ นำแป้งสาลีร่อนใส่ภาชนะไว้ นำมะพร้าวขูดมาคั้นกับน้ำ 7 ขีดนำแป้งสาลีที่ร่อนแล้วและน้ำตาลทรายผสมกันในอ่าง ใส่ไข่และเกลือ คนให้เข้ากัน จากนั้นใส่กะทิและงาดำ คนให้เข้ากันเช่นเดิมนำพิมพ์ทองม้วนมาอังไฟ ใช้ไฟอ่อน อังจนพิมพ์ร้อนจัด ทาน้ำมันพืชให้ทั่วพิมพ์ทั้งสองด้าน อังไฟให้ร้อนอีกครั้ง ตักแป้งหยอดบนพิมพ์ บีพิมพ์ให้แน่ อังไฟสักครู่

 

 

 

ปลาวง  ส่วนประกอบสำคัญคือ ปลาจ้องม้องหรือปลาตุ้งกา (ปลากระเบนเล็ก) เกลือมีขั้นตอนการทำคือ นำปลาจ้องม้องเกลือมีขั้นตอนการทำคือ นำปลาจ้องม้องไปผ่าให้เป็นลงแล้วเอาปลาไปแช่น้ำเกลือแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง

 

 

 

 

วัฒนธรรมอาหารชุมชนปากคลองดอนสัก

ปูม้า  ปูม้าลักษณะการบริโภคปูม้าสามารถสามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น นึ่งต้มผัดแกง (แกงกะทิ แกงส้ม) เป็นต้ม แต่ที่นิยมคนทั่วไปคือ ปูนึ่ง

 

 

 

 

แกงคั่วหอยจุ๊บแจง วิธีการปรุงแกงคั่วหอยจุ๊บแจง ล้างหอยให้สะอาด (ต้องล้างให้สะอาดจริงๆ เพราะมีเม็ดทรายและเมือกที่เปลือกหอย) ตั้งหม้อกะทิใส่เครื่องแกงและกะปิ คนให้เข้ากันดีแล้ว ใส่หอยจุ๊บแจงที่ล้างสะอาดแล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนเครื่องวึมเข้าในตัวหอย และใส่ใบมะกรูด ปรุงรสตามใจชอบ ชิมจนได้รสชาติเผ็ดกลมกล่อม ทีนี้ก็กินกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยๆอย่าบอกใครเชียว

 

ปูเปรี้ยวดอง (ปูแสม) การรับประทานปูเปรี้ยวดองส่วนมากจะรับประทานดิบเป็นหลัก เช่น กานำมายำโดยบีบมะนาว ใส่หอมซอยและหั่นพริกสดใส่กินกับข้าวที่เคียงคู่กับการกินข้าวกับแกงส้ม (แกงเหลือง) ปักษ์ใต้อร่อยแล หรือการนำไปใส่ในส้มตำหรือยำผลไม้ต่างๆ ที่นิยมแกะปูดองเป็นส่วนๆ แล้วใส่ตำคลุกให้เข้ากันโดยไม่ผ่านการทำสุก

 

 

 

 

ปลาเค็มเส้น (ปลากระเบนเล็ก) ส่วนประกอบสำคัญในการทำปลาเค็มเส้นคือ ปลาตุ้งกาหรือปลาจ้อง  ม้อง (ปลากระเบน) ซีอิ้วขาวตามสูตรชาวบ้านปากดอนสัก ขั้นตอนการทำคือ นำปลามาล้าง และหันปลาเป็นเส้นคลุกซีอิ้วขาวแล้วนำมาตากแดด

 

 

 

ปลาเค็มร้า เป็นปลาเค็มชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนำปลาจาระเม็ดมาแปรรูปเป็นปลาเค็ม นำมาทอดรับประทานกับข้าวสวยร้อน ส่วนประกอบสำคัญของอาหารคือ ปลาจาระเม็ดเกลือปลาเค็มร้าตามสูตรชาวบ้านปากน้ำดอนสักมีขั้นตอนการทำ ดังนี้นำปลาเอาไส้ออกแล้วล้างน้ำ นำเกลือเม็ดมะละลายน้ำ แล้วนำปลามาแช่ แล้วนำไปตากแดด

 

 

 

กุ้งแห้ง ขั้นตอนการทำ ล้างกุ้งด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำไปพักไว้ในกระจาดให้สะเด็ดน้ำนำกระทะตั้งน้ำให้เดือดใส่เกลือในอัตราส่วนกุ้ง 1 กิโลกรัมต่อเกลือ 1 ขีด และสีผสมอาหารลงไปเพื่อให้กุ้งมีสีสวยน่ารับประทานนำกุ้งต้มในเกลือจนกุ้งสุก ให้ช้อนขึ้นพักไว้จนสะเด็ดนำจึงเทใส่กระจาดเพื่อนำไปตากแดดโดยเกลี่ยกุ้งให้โดนแดดทั่วๆ ใช้เวลาตากแดดประมาณ ½ วัน

 

 

วัฒนธรรมอาหารชุมชนบ้านเกาะนกเภา

แกงส้มปลากุเลา เป็นปลาที่หาได้ทั้งปี ชาวบ้านเกาะนกเภานิยมนำมาแกงส้มกับมะขามอ่อนผสมมะนาวเป็นอาหารที่นิยมกินคู่กับปลาทอดแดดเดียวหรือปลาเค็มที่ชาวบ้านนำปลาที่ได้จากการออกทะเลมาทำเป็นปลาแดดเดียว ขั้นตอนการประกอบอาหารคือ นำเครื่องแกงส้ม ใส่ในน้ำต้มกับมะขามอ่อนโดยเอามะขามอ่อนออกแล้วนำน้ำเดือดให้ใส่ปลากุเลาลงไป แล้วเติมเครื่องปรุงตามรสชาติที่ชอบ

 

 

 

ต้มโห้ เป็นอาหารของชาวประมงที่ใช้ประกอบอาหาร เมื่อยามออกทะเลเป็นการประกอบอาหารแบบง่ายๆ เพื่อความอยู่รอดเมื่อยามออกทะเล การประกองอาหารจะใช้ กุ้ง หมึก ปู ปลาหรือจะใส่รวมกันก็ได้ น้ำมะขาม เจียวกระเทียมกับน้ำมัน ต้นหอม ผักชี ปรุงรสตามใจชอบ

 

 

 

 

ปลาจาระเม็ดทอดกระเทียม( ปลาเต๋าเต้ย / ปลากุเลา ) เป็นอาหารทอดโดยใช้ปลาเต๋าเต้ยหรือปลากุเลา ซึ่งเป็นปลาที่มีเนื้อปลาเยอะเหมาะกับการนำมาทอด ขั้นตอนการทำเมื่อทอดปลาเสร็จแล้วให้ทอดกระเทียมนำมาราดบนตัวปลาแล้วกินคู่กับน้ำจิ้มซีฟู๊ด

 

 

 

 

 

วัฒนธรรมชุมชนเกาะพะลวยเกาะพะลวย

แกงส้มปลากระบอก การปรุงเป็นอาหาร คือ บางปลาที่ได้มาล้างน้ำให้สะอาด เครื่องหมายต่างๆนำออกให้หมด จากนั้นก็ทำเครื่องแกงโดยตำพริกแห้ง ขมิ้น กระเทียม หัวหอม เน้นรสชาติไปทางหัวหอม เกลือ โขลกให้เข้ากัน จากนั้นนำกะปิใส่ในเครื่องแกง น้ำมะขามที่ละลายเรียบร้อยแล้วกับเครื่องแกงที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในหม้อ พอน้ำเดือด นำปลากระบอกใส่ลงไป ประมาณ 5 นาที แล้วปรุงรสตามใจชอบ

 

 

 

 

ต้มเทปลาเค็มกับยอดขามอ่อน (ต้มกะทิปลาเค็มกับใบมะขามอ่อน) วิธีการปรุงการทำปลาเค็ม นำปลาที่ได้ไปล้างน้ำสะอาด 3-4 น้ำ จากนั้นนำเกลือไปละลายกับน้ำแล้วนำปลาลงไปแช่ในน้ำเกลือ เพื่อให้ความเค็มเข้าสู่ตัวปลา จากนั้นนำปลาไปตากแดดประมาณ 2 แดด (ผึ่งแดดประมาณ2 วัน ) เมื่อได้ปลาเค็มตามต้องการ ก็เตรียมน้ำกะทิใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆ ใส่หอมแดง ปรุงรส จากนั้นใส่ปลาเค็มลงไปและตามด้วยใส่ยอดมะขาม รอจนกะทิเดือด ระวังอย่าให้น้ำกะทิเดือดขึ้นหม้อเดี่ยวจะทำให้ความมันของกะทิออกหมดจะไม่อร่อย

 

 

แกงส้มกุ้งกับมะละกอ วิธีการปรุงนำมะขามเปียกละลายกับน้ำและใส่ลงในหม้อจากนั้นนำเครื่องแกงและกะปิมาละลายกับน้ำมะขามตั้งนำบนไฟให้เดือดจากนั้นใส่กุ้ง รอจนกุ้งสุกใส่มะละกอตามลงไปแล้วปรุงรสตามที่ชอบ

 

 

 

แกงส้มหอยแครง ขั้นตอนการปรุง แกงส้มหอยแครงนำหอยแครงสดมาลวกเพื่อเกาะเนื้อออก ในการลวกนั้นจะต้องใช้เวลาที่ค่อนข้างเหมาะสมโดยสังเกตจากลักษณะของฝาหอย ให้ฝาของหอยอ้ามาเนื้อเต่งตึงไม่ยุบจนเกินไป ตั้งหม้อน้ำให้เดือดแล้วใส่เครื่องแกงและกะปิลงไปเมื่อเครื่องแกงละลายน้ำแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกใส่ผักลงไปเมื่อผักลงไปพร้อมหอยแครงลวก จากนั้นก็ปรุงรสตามที่ชอบ

 

 

ยำสาหร่ายข้อหอยกลม สาหร่ายข้อจะขึ้นเกาะอยู่กับปะการังตามริมหาด สามารถเก็บได้ในช่วงที่น้ำลด อุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุงประกอบด้วย น้ำชุบ (น้ำพริก) มะนาว พริก กะปิ และกระเทียม การปรุงสาหร่ายข้อกับหอยกลมให้อร่อยนั้น มีขั้นตอนคือ ทำความสะอาดสาหร่ายโดยการล้างน้ำ แล้วลวกน้ำร้อน การลวกสาหร่ายจึงต้องให้น้ำเดือดก่อน แล้วค่อยนำสาหร่ายลงลวก นำหอยกลมสดมาทำความสะอาด จากนั้นต้มน้ำเดือดแล้วจึงนำหอยลงลวกรวดเร็วและยกขึ้น เพื่อให้ได้รสชาติ ความสดของหอย และเนื้อหอยจะได้เหนียวนุ่มนำหอย ที่ได้จากการลวกมาผ่าเอาแค่ฝาด้านที่มีเนื้อ (ยำทั้งฝา) เพื่อจานของอาหาร จะได้มีความสวยงาม และได้อรรถรสในการรับประทานเริ่มทำน้ำยำ (น้ำพริก) โดยการเริ่มตำพริก กระเทียม หลังจากนั้นโขลกหัวหอมแดงรวมกับกะปิ แล้วบีบมะนาว จากนั้นคงให้เข้ากัน (วัตถุดิบสามารถนำมาสริมได้ น้ำมะขามเปียก หรือมะม่วงเบา) ในเมนูยำสาหร่ายข้อกับหอยกลมนั้นสามารถใส่ เนื้อปู กุ้ง หรือปลา แล้วแต่ผู้บริโภคอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุงอาหาร